วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยา                                
     จิตวิทยาเป็นศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและประสบการณ์ของมนุษย์  โดยมีจุดหมายเพื่อค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์  และวิธีที่เขาได้รับประสบการณ์ต่างๆ  จากโลกรอบๆตัวเขา
(Malim , Tony and Birch, Ann. 1998 : 3)      
ความหมายของจิตวิทยาในปัจจุบัน
     ความหมายของจิตวิทยาในปัจจุบัน  หมายถึง วิทยาศาสตร์  (science)  ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรม (behavior)  และกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง  (Mental Process) (Halonen Jane S. and Santrock W.,  1996 : 5 )   
      จากความหมายของจิตวิทยาข้างต้น  จะเห็นว่า  จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับคำ 3 คำ คือวิทยาศาสตร์ พฤติกรรม และกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติม  ดังนี้
     1.) จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์  หรือเป็นศาสตร์นั้น  หมายความว่า  เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อถือได้ เป็นความรู้ที่ได้จากสังเกต  การวัด  การทดลอง และการตรวจสอบอย่างรัดกุม มีระบบแบบแผนที่แน่นอน จนสามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำไปใช้อธิบาย  ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ได้                                                              
     2.)พฤติกรรม  คือการกระทำและการตอบสนองของอินทรีย์  นักจิตวิทยามักจะศึกษาพฤติกรรมภายนอก เพราะเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตและวัดได้  พฤติกรรมภายนอกได้แก่  การกระทำต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตา เช่น การเดิน  การพุด  ฯลฯ  หรืออาจจะใช้เครื่องมืออื่นๆ  เช่น การใช้เครื่องวัด
 วัดอัตราการหายใจ  คลื่นสมอง  ความดันโลหิต   และอื่นๆ
     3.) กระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง  เป็นพฤติกรรมภายในได้แก่ การกระทำที่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นได้เช่น การรับรู้  ความคิด  ความจำ  ความรู้สึกและอารมณ์ การศึกษาพฤติกรรมภายในทำได้หลายวิธีเช่น การให้ผู้ที่เราต้องการจะศึกษารายงานตนเองหรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้  โดยการนำเครื่องมือต่างๆมาใช้เช่น เครื่องวัดความวิตกกังวล (EKG)   เครื่องมือวัดคลื่นสมอง (EEG) และเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT หรือ Scan) เป็นต้น  


ความเป็นมาของจิตวิทยา
      คำว่า จิตวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า ไซโคโลยี (Psychology) มาจากศัพท์เดิมภาษากรีก2คำคือ  ไซคี และ โลกอส (Psyche and Logos)
      ไซคี แปลว่า จิตใจ( Mind )หรือวิญญาณ                   
      โลกอส แปลว่า การศึกษา(Study) หรือแบบของการสอน (line of teaching)                               
ฉะนั้น เมื่อรวมเข้าด้วยกันจิตวิทยาจึงไซคี และโลกอส หมายถึง การศึกษาเรื่องของจิตหรือวิญญาณ
       วิชาจิตวิทยาได้พัฒนามาเป็นศาสตร์ อย่างช้าๆเนื่องจากมีความขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา โดยศาสนาเชื่อว่าเรื่องของจิตหรือวิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้กฎหรือหลักเกณฑ์ใดๆ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 มีนักจิตวิทยาชาวเยอรมันคนหนึ่งชื่อ เฮล์ม โฮลทซ์ (Helmholtz) เป็นผู้หนึ่งในกลุ่มบุคคลที่นำการทดลองมาใช้ในการศึกษาจิตวิทยา ต่อมาในปี ค.ศ.1879 มีนักจิตวิทยาชาวเยออรมันชื่อ วิลเฮล์ม วุ้นด์ (Wilhelm Wundt)เป็นคนแรกที่ใช้วิธีทางการวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาทางการวิทยา
       วิลเฮล์ม วุ้นด์ (Wilhelm Wundt) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง จากนั้นเป็นต้นมาจิตวิทยาได้รับการสนใจ ศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน
        คำว่า การเรียนการสอน อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆและตรงไปตรงมาเริ่มตั้งแต่ครูเตรียมการสอน  เตรียมเนื้อหา และสอนให้ตรงตามหลักสูตรที่กำหนดไว้  แต่ความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนมิได้ง่ายอย่างที่คิด ดังที่ สุมน อมรวิวัฒน์ (2541:5)  กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ทำไมต้องปฏิรูปการเรียนรู้” ตอนหนึ่งว่า
         ....การสอนตามเนื้อหาหนังสือ  และหลักสูตรซึ่งไม่มีหลักสูตรใดจะยืนยงคงกระพันไม่ล้าสมัย  ไม่มีหนังสือเล่มใดจะครอบคลุมเรื่องที่ต้องเรียนให้หมด  ไม่มีครูคนใดบอกเด็กได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกคน ด้วยเหตุนี้ครูจึงอยู่เฉยไม่ได้แล้ว  ถ้าครูไม่ปรับปรุงคุณภาพของการสอน เด็กใน 10 ปีข้างหน้าจะมีคุณภาพเหมือนเราและล้าหลังยิ่งกว่าเรา...
         จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า  คุณภาพของเด็กในวันนี้คือคุณภาพของประชากรในวันข้างหน้า และคุณภาพการศึกษา คุณภาพประชากรอยูที่การสอนของครู  วิชาจิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งด้านตัวนักเรียนและการสอนของครู จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้ครูเข้าใจบทบาทของตนเอง และเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน เข้าใจกระบวนการเรียนการสอน และครูสามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน
ขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอน
        ได้มีผู้กล่าวถึงขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอนไว้หลายท่าน เช่น
             สุพล บุญทรง (2531:21) ได้กล่าวถึงจุดที่สำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวผู้เรียน  แบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ คือ ตัวผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยที่ผู้สอนต้องรู้ว่าผู้เรียนมีพัฒนาการ และองค์ประกอบในการเรียนรู้อย่างไรโดยศึกษาจากจิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาการเรียนรู้ หรือจิตวิทยาการศึกษา
              กุญชรี ค้าขาย (2536:101) ได้กล่าวถึงขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอนว่า ประกอบด้วยความรู้ 4 ด้าน คือ 1.ความรู้เรื่องพัฒนาการของมนุษย์
                            2.หลักการเรียนการสอน
                            3.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                            4.การนำหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
               โกวิทย์ ประวาลพฤกษ์ และคณะ (2534:71-75) ได้กล่าวถึงลักษณะทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนว่ามาจาก 3 แหล่ง คือ
                            1.จิตวิทยาพัฒนาการเด็กซึ่งมุ่งศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในด้านต่างๆ
                            2.จิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องการรับรู้ ความจำ การเข้าใจสิ่งใหม่ๆ และการจัดโครงสร้างทางความรู้ความคิด
                            3.จิตวิทยาการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุผล
     
      





ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
   การเรียนการสอนจะดำเนินไปได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน และครูยังต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน และในการถ่ายทอดความรู้จะต้องรู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดี การรู้จักผู้เรียนนั้นผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความหมายของพัฒนาการ
     พัฒนาการ หมายถึง แบบแผนของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านความเจริญเติบโตและการเสื่อมของมนุษย์ ตั้งแต่มีการปฏิสนธิต่อเนื่องกันไปจนตลอดวงจรชีวิต
      นักจิตวิทยาได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย หมายถึง ความเจริญเติบโตที่เกี่ยวกับร่างกายทั้งหมด
2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในด้านความคิด ความจำ ความมีเหตุผล     ความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้อยู่ในภาวะที่สังคมยอมรับ
4. พัฒนาการทางด้านสังคม หมายถึง ความสามารถในการที่จะปรับตนให้เข้ากับสังคมที่ตนอยู่ได้เป็นอย่างดี และสามารถปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตนเองได้
องค์ประกอบของพัฒนาการ
        พัฒนาการของบุคคลเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบ 2 อย่างต่อไปนี้ คือ วุฒิภาวะและการเรียนรู้
การนำความรู้เรื่องพัฒนาการไปใช้ในการเรียนการสอน
1.             การเรียนการสอนควรเป็นลักษณะบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันเพราะพัฒนาการของมนุษย์เป็นไปในลักษณะประสานสัมพันธ์กันทุกส่วน
2.             เด็กมีความแตกต่างกัน การเรียนการสอนที่ดี คือ การเรียนการสอนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก เช่น เรื่องความสนใจ ความต้องการแรงจูงใจ ความพร้อมและความสามารถของเด็กแต่ละคน
3.             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี ควรคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของเพศหญิง และเพศชาย เพราะมีพัฒนาการแตกต่างกัน
4.             พัฒนาการของมนุษย์ทุกคนเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ดังนั้นการจัดหลักสูตร และการดำเนินการสอนควรจัดเรียงตามลำดับก่อน-หลัง ของความยาก ง่าย และสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน



พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ความหมายของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
         พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ด้วยวิธีการสืบพันธ์ โดยมียีนส์ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
          สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราหรือหมายถึงสิ่งเร้าต่างๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับตัวเราทำให้เรามีการกระทำ สิ่งเหล่านั้นอาจเป็น คน สัตว์ วัตถุสิ่งของ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ฯลฯ สิ่งแวดล้อมนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์นอกเหนือไปจากพันธุกรรม
ความสำคัญของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพัฒนาการ
            จากการศึกษาเรื่องพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมเป็นที่ยอมรับแล้วว่า ลักษณะพัฒนาการของแต่ละคนมาจากการทำงาน ร่วมกันระหว่างพันธุกรรมสิ่งแวดล้อม โดยที่พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดขอบเขตการพัฒนาการของบุคคล ส่วนสิ่งแวดล้อมช่วยส่งเสริม หรือขัดขวางพัฒนาการใดๆ
ประโยชน์ของความรู้เรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อครู
   1. ช่วยให้ครูทราบลักษณะความแตกต่างและขอบเขตความสามารถ ของเด็กแต่ละคนว่าสาเหตุมาจากอะไร
   2. ช่วยให้ครูเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และพยายามปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็ก
   3. ช่วยให้ผู้ปกครองและครูสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของเด็กได้ทันเวลา และหาทางส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ให้เหมาะสมกับขอบเขตความสามารถ






ทฤษฏีพัฒนาการ
ความหมายและความสำคัญของทฤษฏีพัฒนาการ
          ทฤษฏีพัฒนาการคือ คำอธิบายที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาพัฒนาการ และพฤติกรรมมนุษย์ ทุกทฤษฏีจัดตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อบางประการ การศึกษาทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนาการ จะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจลักษณะของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ในบทนี้จะขอเสนอทฤษฏีพัฒนาการบางทฤษฏี เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ทฤษฏีที่จะกล่าวถึงได้แก่                                                                                                           
      1.) ทฤษฏีวุฒิภาวะ (Maturation Theories)
          ทฤษฏีนี้ได้อธิบายแบบแผนการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่แตกต่างกันไปตามอายุ โดยมีความคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า พัฒนาการของมนุษย์เป็นผลมาจากพันธุกรรม ทฤษฏีนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฏีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charies Darwin , 1809-1882)
      2.) ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Freud’s Psychoanalytic Theory)
           ทฤษฏีจิตวิเคราะห์นับได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ โดยที่ ฟรอยด์ เป็นผู้หนึ่งที่เห็นความสำคัญของประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กว่ามีผลต่อลักษณะพัฒนาการ และบุคลิกภาพในวัยเจริญเติบโต เขาเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพมากที่สุด และพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า ขั้นพัฒนาการทางเพศ (Psychosexual stages) มี 5 ระยะ
          (2.1)   ระยะปาก เริ่มตั้งแต่ 0-1 ขวบ ในวัยนี้เด็กจะได้รับความสุขจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปาก ถ้าเด็กได้รับความสุขโตขึ้นมาจะมองโลกในแง่ดีและมีความไว้วางใจ ในทางตรงข้ามถ้าเด็กไม่ได้รับความสุข และความรัก เด็กจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความไว้วางใจผู้อื่น
         (2.2)  ระยะขับถ่าย ตั้งแต่ 2-3 ขวบ แหล่งที่จะทำให้เด็กเกิดความสุขคือ ทวาร กิจกรรมของเด็กในระยะนี้ แบ่งออกได้ 2 ตอน คือ ตอนกลั้นอุจาระ และตอนถ่ายอุจาระ เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจาระ พอโตอาจจะเป็นคนขี้เหนียว แต่ถ้าพอใจกับการถ่ายอุจาระ โตขึ้นมาจะเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
         (2.3) ระยะอวัยวะสืบพันธุ์ ตั้งแต่อายุ 3-5 ขวบ แหล่งที่ทำให้เด็กพอใจคืออวัยวะสืบพันธุ์คือเด็กจะเกิดความรู้สึกรัก และผูกพัน กับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตน
         (2.4)   ระยะฟักตัวหรือระยะแฝง ตั้งแต่อายุ 6-13 ปี เป็นระยะเงียบสงบ และมีพัฒนาการทักษะแตกต่าง เด็กจะค่อยๆแยกตัวจากพ่อ-แม่ไปสู่สังคม
        (2.5)  ระยะลักษณะเพศขั้นทุติยภูมิ เริ่มตั้งแต่ วัยรุ่นเป็นต้นไป สิ่งที่สำคัญในวัยนี้คือ วัยรุ่นจะเป็นวัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น ปรับตัวให้เข้ากับเพศตรงข้าม เลียนบทบาททางเพศ ผูกพันกับเพศตรงข้าม
   3. ) ทฤษฏีพัฒนาการทางจิตสังคม                                  
           อีริก อิริกสัน (Erik Erikson) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ เขาสนใจทฤษฏีของ ฟรอยด์ และเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์  อีริกสันเน้นความสำคัญ ของความสำคัญและความต้องการทางจิตสังคม เขาเน้นว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อพัฒนาการ โดยเฉพาะบุคคลแวดล้อม
   อิริกสัน  ได้แบ่งพัฒนาการตามความต้องการทาวสังคมทางบุคคล ออกเป็น 8ขั้น ดังนี้

ลำดับ
ขั้น
    
อายุ
บุคคลแวดล้อม
ปฏิบัติดี
พัฒนาการที่จะ
เกิดขึ้น
บุคคลแวดล้อม
ปฏิบัติไม่ดี
พัฒนาการที่จะ
เกิดขึ้น
บุคคล
แวดล้อม
ที่มีอิทธิพลต่อ
บุคคล
วิธีปฏิบัติต่อบุคคล
วัยต่างๆ
ขั้นที่
1
แรกเกิดถึง
1 ปี
ความไว้วางใจ
ความไม่ไว้วางใจ
พ่อแม่หรือบุคคลที่ทำหน้าที่แทน
พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่น
ขั้นที่
2
2-3 ปี
ความมั่นใจในตัวเอง
ความอิสระทางความคิด
ความสงสัยไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง
พ่อ แม่ พี่เลี้ยง
เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ขั้นที่
3
3-5  ปี
ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
ความรู้สึกผิด
ครู พ่อ แม่
เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดและลองทำตามความคิดนั้น
ขั้นที่
4
6-11 ปี
ความรู้สึกขยัน
หมั่นเพียรและความภาคภูมิใจในตนเอง
ความรู้สึกด้อย น้อยเนื้อต่ำใจ
พ่อ แม่ ครู
พยายามให้ความชื่นชม ความสามารถหรือความดีบางอย่างในตัวเด็ก
ขั้นที่
5
12-20 ปี
ความเป็นเอกลักษณ์
ความสับสนในบทบาทตนเอง
เพื่อน พ่อ แม่ ครุ
เป็นที่ปรึกษาที่ดีและเข้าใจเมื่อเด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
ขั้นที่
6
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
20-35 ปี
ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด
ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว
คู่รัก เพื่อนสนิท
การเป็นคู่รักที่ดี การเป็นเพื่อนที่ดี
ขั้นที่
7
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย35-60 ปี
ความรู้สึกมั่นคงทำประโยชน์ให้สังคม
ความรู้สึกคิดถึงตนเอง
คู่ชีวิต ลูก เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน
เป็นคู่ชีวิตที่ดี เป็นลูกที่ดี
ขั้นที่
8
วัยชรา 60 ปีขึ้นไป

ความรู้สึกสมบูรณ์ในชีวิต
ความรู้สึกสิ้นหวังทอดอาลัย
ลูกหลาน บุคคลวัยเดียวกัน
การดูแลเอาใจใส่คนชรา


     
     4.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา และความคิด (Cognitive Development Theory)
          ผู้สร้างทฤษฏีนี้คือ นักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ จีน พีอาเจต์  เขาพบว่าวิธีการคิดและการให้เหตุผลในสิ่งต่างๆของเด็กน่าสนใจมาก จึงได้ศึกษาพัฒนาการทางความคิดขึ้นในบ้าน โดยสังเกตพฤติกรรมบุตรชาย หญิงของตน และเขาได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา และความคิดออกเป็น 4 ขั้น
         (4.1) ขั้นสติปัญญา
         (4.2) การบรรลุถึงขั้นสติปัญญาขั้น 1 จะเป็นรากฐานสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาขึ้นต่อไป
         (4.3) ระดับขั้นของพัฒนาการด้านสติปัญญา
         (4.4) ขั้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิด แต่ละขั้นรากฐานของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อไป
    5.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
      ทฤษฏีพัฒนาการนี้ คือทฤษฏีของ  ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก   เขาได้พัฒนาทฤษฏีของเขาขึ้น ทฤษฏีของ โคลเบิร์ก เป็นทฤษฏีที่มีรากฐานมาจาก ทฤษฏีของ พีอาเจต์  โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับแต่ระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
   ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์สังคม ในระดับนี้เด็กจะได้รับกฎเกณฑ์ของพฤติกรรม “ดี”  พฤติกรรม “ไม่ดี”
      จากผู้มีอำนาจเหนือตน และโคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการระดับนี้ออกเป็น 2 ขั้น คือ
         (1.1)การลงโทษและการเชื่อฟัง อายุ 2-7 ปี เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ
         (1.2)กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน อายุ 7-10 ปี เด็กจะเริ่มกระทำในสิ่งที่พอใจ
   ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมเป็นพัฒนาการที่ผู้ทำถือว่าประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
        (2.1) ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับเด็กดี
        (2.2) กฎและระเบียบ                               
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม พัฒนาการระดับนี้
           ผู้ทำได้พยายามจัดตีความหมายของหลักการ และการตัดสินใจ “ถูก” “ผิด” “ไม่ควร”  มาจาก   วิจารณญาณของตนระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
   (3.1)  สัญญาสังคม
   (3.2)   หลักการคุณธรรมสังคม
การเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
        บารอน (Baron,Robert A.,1998:1770) ให้ความหมายว่าการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
        คูน (Coon Dennis,1994:261) กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร เนื่องมาจากได้รับประสบการณ์
พฤติกรรมการเรียนรู้
         แบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ 1.พฤติกรรมทางสมอง
                                             2.พฤติกรรมทางกล้ามเนื้อและประสาท
                                             3.พฤติกรรมทางอารมณ์หรือความรู้สึก
ทฤษฏีการเรียนรู้
      ทฤษฎีเป็นความรู้ที่เกิดจากสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลและจินตนาการ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ทฤษฎีจะเป็นที่ยอมรับเมื่อผ่านการทดลองแล้ว
      ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาสนใจและศึกษาค้นคว้ามีหลายทฤษฎี  แต่จะกล่าวเพียง 2 กลุ่ม  คือ                 
1.              กลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism) หรือกลุ่มการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
         นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้อธิบายการเรียนรู้ว่า การขึ้นจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งพวกเขาได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ดังนี้
              1.1  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค พาฟลอฟ  เป็นการนำเสนอสิ่งเร้า 2ตัวพร้อมๆ กันระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข เพื่อต้องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ช่วยให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
               1.2  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ เป็นการวางเงื่อนไขการกระทำที่เกิดก่อน และตามด้วยการให้เติมตัวเสริมแรง และตัวเสริมแรงนี้จะมีการกระตุ้นให้มีการตอบสนอง
               1.3  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของธอร์นไดค์ หรืทฤษฎีการเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก
     2. กลุ่มความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitive Learning Theory or Field Theory )
         นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลในช่วงของการเรียนรู้ บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ สำหรับทฤษฎีกลุ่มนี้นำเสนอ 2ทฤษฎี คือ
                2.1  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น (Insight Learning) เป็นการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการคิดสมองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาคิดแก้ปัญหา
                2.2  ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือการเรียนรู้โดยสังเกต (Social Learning or Oservational Theory) ทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้โดยการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ กระบวนการตั้งใจ  กระบวนการจดจำ  กระบวนการทำเหมือนตัวแบบ และกระบวนการจูงใจที่ผู้เรียนคาดหวัง
     จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าแต่ละแนวคิด ของการเรียนรู้ต่างก็มีประโยชน์ต่อครู ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การรู้สึกและการรับรู้
       ความหมาย ของการรู้สึก คือกระบวนการรับข่าวสารข้อมูลในรูปพลังงานจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว ให้เป็นการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการรู้รส หรือกล่าวได้ว่าเมื่อได้รับข่าวสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้ว จะมีการแปลงสิ่งนั้นให้เป็นสิ่งที่มีความหมาย ซึ่งเรียกว่า การรับรู้
       ความหมาย ของการรับรู้ คือกระบวนการทางสมองในการจัดหมวดหมู่และแปลความหมายจากสิ่งที่ประสาทรับ สัมผัสของร่างกายไปสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกให้เป็นสิ่งที่มีความหมาย การแปลความหมายนี้ผู้รับรู้ จะต้องมีอวัยวะรับสัมผัสสมบูรณ์ ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นผลของความรู้เดิมบวกกับการรับสัมผัส หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลของการเรียนรู้บวกกับความรู้สึก จากการสัมผัส
การนำเอาไปใช้ในการเรียนการสอน
1.             สำรวจตัวผู้เรียนก่อนว่ามีปัญหาในด้านการรับรู้หรือไม่
2.             จัดให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้สิ่งต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการรับรู้ อันเป็นแนวทางเสริมสร้างการเรียนรู้ไปด้วย
3.             สนใจเด็กที่มีปัญหาต่อการรับรู้ เช่น อวัยวะรับสัมผัสบกพร่อง สายตาสั้น สายตาเอียง ฯลฯ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
             ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม นอกจากจะช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน


ความพร้อมและแรงจูงใจ
ความหมายของความพร้อม
           ความพร้อม คือ สภาวะที่บุคคลพร้อมด้วยประการทั้งปวงที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ในการเรียนรู้ความพร้อม หมายถึง สภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย ความพร้อมทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ถึงระดับที่จะปฏิบัติงานได้บวกกับความรู้พื้นฐาน
           ความพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเรียนรู้  องค์ประกอบของความพร้อมมี 2 ประการ คือ 1.องค์ประกอบภายในผู้เรียน ได้แก่ วุฒิภาวะและประสบการณ์เดิม    2.องค์ประกอบภายนอกผู้เรียน
แนวความคิดของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับความพร้อม
           นักจิตวิทยาได้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 เชื่อว่า ความพร้อมเป็นเรื่องธรรมชาติไม่ใช่สิ่งที่เร่งได้ มีตั้งแต่สมัย รุสโซ ซึ่งเป็นผู้ที่เชื่อเรื่องนี้อย่างมาก 
                กลุ่มที่ 2 เชื่อว่า ความพร้อมสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โยการจัดประสบการณ์ให้ไม่จำเป็นต้องรอให้เด็กพร้อม
 ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
1.             การเลี้ยงดูควรปล่อยให้เป็นอิสระ ไม่เข้มงวดจนเกินไป
2.             โรงเรียนควรจะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีทางเลือกให้มาก ถ้าสิ่งที่เรียนตรงกับความสนใจของผู้เรียนและจะเรียนได้ผลดี
3.             ไม่ควรแบ่งกลุ่มตามระดับสติปัญญา
4.             เน้นบทบาทครูให้เป็นผู้มีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน
5.             ทำให้เกิดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม หรือเครื่องช่วยการสอนเป็นรายบุคคล
ความหมายของแรงจูงใจ
            แรงจูงใจ หมายถึง พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นโดยความต้องการทั้งภายนอกและภายใน ทำให้เกิดแรงขับเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย


ประเภทของแรงจูงใจ
              นักจิตวิทยา แบ่งแรงจูงใจออกเป็น 2 วิธี คือ
1.             การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามลักษณะของแรงจูงใจ ลักษณะของแรงจูงใจมี 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก
2.             การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามที่มาของแรงจูงใจ ที่มาของแรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ แรงจูงใจทางสรีรวิทยา แรงจูงใจทางจิตวิทยา และแรงจูงใจทางสังคม ซึ่งแรงจูงใจทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด เช่น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์  แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา และแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ
          องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจมี 3 ประเภทดังนี้
1.             องค์ประกอบทางด้านชีววิทยา ได้แก่ การทำงานของร่างกาย
2.             องค์ประกอบด้านความคิด ได้แก่ ความคิดเรื่องต่างๆของคน เป็นต้น
3.             องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ จากการที่มนุษย์ไดเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากสังคมที่เขาอยู่
ทฤษฎีแรงจูงใจ
            ในการศึกษานักจิตวิทยามีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจต่างๆกันจึงมีทฤษฎีแรงจูงใจหลายทฤษฎีแต่จะกล่าวเพียง 6 ทฤษฎีดังนี้
1.             ทฤษฎีสันชาตญาณ
2.             ทฤษฎีแรงขับ
3.             ทฤษฎีการตื่นตัว
4.             ทฤษฎีความคาดหวัง
5.             ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของ มาสโลว์
6.             ทฤษฎีปัญญานิยม



วิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน
1.             ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2.             การใช้สิ่งล่อใจกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน เช่น คำชมเชย คะแนน รางวัล ฯลฯ
3.             การแข่งขัน กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอดทนและปรับปรุงการเรียนของตนให้ดีขึ้น
สรุป    การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความพร้อมในการเรียนการสอน ครูควรส่งเสริมความพร้อมของเด็กในช่วงวัยต่างๆให้เหมาะสมกับการส่งเสริมความพร้อมในการเรียน และวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กมีความหวัง  ความภูมิใจ มีความพอใจที่จะเรียนและอยากประสบความสำเร็จด้านการเรียน การสร้างแรงจูงใจต้องใช้แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายใน

เชาว์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์
ความหมายของเชาว์ปัญญา
           เชาว์ปัญญา หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
           ทฤษฎีเชาว์ปัญญา มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยวเชื่อว่าเชาว์ปัญญา คือความสามรถในการคิดแบบนามธรรม  ทฤษฎีสององค์ประกอบยังแบ่งความสามารถของเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบทั่วไป และองค์ประกอบเฉพาะ ทฤษฎีหลายองค์ประกอบของ เธอร์สโตน เสนอความสามารถสมองออกเป็น 7 ด้าน ทุกทฤษฎีต่างก็มีประโยชน์และเป็นพื้นฐานในการสร้างเครื่องมือวัดเชาว์ปัญญา






การวัดเชาว์ปัญญา
ระดับ I.Q.
(เชาว์ปัญญา)
ความหมาย
ความสามารถทางการเรียนและการงาน
การแจกแจงเป็นจำนวน(%)จากกลุ่มคน
ปกติ
140 ขึ้นไป
ฉลาดมากหรืออัจฉริยะ
สามารถเรียนได้ถึงปริญญาเอก เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นสูง เป็นผู้นำในอาชีพต่างๆ

1%
120 - 139
ฉลาด
สามารถสำเร็จได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัย ทำงานอาชีพชั้นสูง

11%
110 - 119
ค่อนข้างฉลาด
เรียนจบมัธยมและมีโอกาสจบมหาวิทยาลัย ได้ทำงานกึ่งวิชาชีพ

18%
90 – 109
ปานกลาง
มีความสามารถระดับปานกลาง เรียนจบมัธยม ทำงานอาชีพใช้ความชำนาญธรรมดา

46%
80 – 89
ค่อนข้างทึบ
เรียนจบประถมศึกษาได้ทำงานพวกค้าขาย เป็นกรรมกร
15%
70 – 79
เชาว์ปัญญาทึบ
มีโอกาส 50% ที่จะจบประถมศึกษา ทำงานเป็นกรรมกรแรงงานหรือเป็นลูกมือผู้ช่วยได้

6%
60 - 69
ปัญญาอ่อน
ต้องได้รับการสอนเป็นพิเศษจึงจะอ่านออกเขียนได้ ทำงานประเภทไม่ใช้ความคิดหรืองานฝีมือง่ายๆได้




ต่ำกว่า 70ลงไปมีประมาณ 3%
20 – 49

ปัญญาอ่อนขนาดกลาง

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก 6-7 ปีพอช่วยเหลือตนเองได้บ้าง
ต่ำกว่า 20
ปัญญาอ่อนขนาดหนัก
ทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆได้  ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนธรรมดาได้ ไม่สามารถจะเรียนหรือดูแลตนเองได้


ประโยชน์ของเชาว์ปัญญา
1.             ในด้านความรู้  สามารถปรับตัวและแก้ไขเหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมได้
2.             ในด้านการแนะแนวการศึกษาอาชีพ  ครูจะสังเกตเชาว์ปัญญา ความถนัด ความสนใจของเด็กเพื่อแนะแนวการศึกษาได้

การจำ การลืม การถ่ายโยงการเรียนรู้ และความถนัด
       การจำ หมายถึง กระบวนการที่สมองสามารถเก็บสะสมสิ่งที่ได้รับรู้ไว้และสามารถนำออกมาใช้ได้ ระบบความจำมี 3 ระบบ คือ
1.             การจำที่เกิดจากความรู้สึกสัมผัส
2.             ความจำระยะสั้น
3.             ความจำระยะยาว
กระบวนการของความจำ มี 3 ระบบ คือการเข้ารหัสข้อมูล การเก็บจำ และการนำออกใช้ หลักในการจำได้แก่ การเรียนเกิน การระลึกสิ่งที่จะจำขณะฝึกฝนอยู่ การจำอย่างมีหลักเกณฑ์ การพักผ่อน การจดบันทึกและการอ่าน
       การลืม หมายถึง การที่เราไม่สามารถจำสิ่งที่เคยเรียนรู้แล้วได้ ไม่สามารถระลึกหรือนำออกไปใช้ได้
 สาเหตุของการลืม 
1.             การเข้ารหัสข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2.             การเสื่อมสลายไปของรอยความจำ
3.             การไม่ได้ใช้เป็นเพราะเราไม่ได้ใช้ความจำเป็นเวลานานๆ ความจำเรื่องนั้นจะค่อยๆหายไปจนลืม
4.             ความเสื่อมของอวัยวะที่ช่วยในการจำ
          การถ่ายโยงความรู้ หมายถึง การนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาใช้ให้เกดประโยชน์ การถ่ายโยงความรู้มีทั้งการถ่ายโยงบวก การถ่ายโยงลบ และการถ่ายโดยชนิดศูนย์ การถ่ายโยงความรู้มีประโยชน์ต่อครูในด้านการเรียนรู้และการจัดเนื้อหาการสอน       
  
สรุป
            จิตวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาธรรมชาติของมนุษย์โดยมิได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีนักจิตวิทยาชาวเยอรมันคนแรกที่นำวิธีการทาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาจิตวิทยา ปัจจุบันจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรม และกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นสาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยาซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสาขา แต่ละสาขาต่างก็ศึกษาค้นคว้าในแนวของตน ทุกสาขาล้วนมีประโยชน์ทำให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจ และสามารถควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆกัน อาชีพครูจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน เพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการของเด็กซึ่งเป็นผู้เรียนในด้านต่างๆ และสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เพื่อให้เขามีวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และทำให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น